วันที่โพสต์: Jul 05, 2016 8:23:52 AM
สำหรับคุณครูที่อยากมีบล็อกสำหรับบันทึกเรื่องราวหรือรวบรวมผลงานการปฏิบัติงานของตนเองจัดทำ Portfolio ส่วนตัวหรือจะประยุกต์ใช้งานเป็นเว็บไซต์ วันนี้มีบริการหนึ่งที่น่าสนใจมาฝาก เป็นบริการสร้างเว็บบล็อกของ Google นั่นก็คือเจ้า Blogger ที่โด่งดังนั่นเองครับ เจ้าBlogger หรือ Blogspot เป็นเว็บให้บริการสร้างเว็บบล็อกแบบฟรี ๆ ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ลูกเล่นเยอะ ใช้งานง่ายมาก ๆ คุณครูไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมก็สามารถสร้างได้เองครับ มาเริ่มกันเลย
ก่อนอื่นคุณจะต้องมีบัญชีอีเมล์ของ Google ซะก่อนนะครับ ถ้าไม่มีก็ต้องกลับไปสมัครก่อน…ผมจะอธิบายกรณีที่มีบัญชีแล้วนะครับ
– เข้าสู่เว็บไซต์ของบล็อกที่ www.blogspot.com
– กรอกข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่าน แล้วคลิกที่ลงชื่อเข้าใช้งานครับ
– คลิกที่ปุ่ม “บล็อกใหม่”
– ให้กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนดังนี้
1. หัวข้อ ให้กรอกหัวข้อของเว็บบล็อกที่ต้องการ
2. กรอกที่อยู่เว็บบล็อก (ใช้เป็นภาษาอังกฤษ) สังเกตว่าถ้ามีเครื่องหมายถูกปรากฎแสดงว่าใช้ได้
3. แลกแม่แบบของบล็อก
4. คลิกที่สร้างบล็อก
– ถ้าดำเนินการสร้างบล็อกใหม่เสร็จจะแสดงหน้าดังนี้
1. รายชื่อเว็บบล็อกที่เราสร้าง
2. สามารถดูบล็อกที่เราสร้างได้
คลิกที่รายชื่อบล็อกที่เราสร้างจะเจอหน้าหลักสำหรับการปรับแต่งเว็บบล็อกดังนี้
– หน้าหลักสำหรับการปรับแต่งเว็บบล็อกซึ่งมีเมนูสำหรับการปรับแต่งดังนี้
1. สำหรับกำหนดรูปแบบการวางบทความต่าง ๆ
2. สำหรับเลือก/เปลี่ยน รูปแบบบล็อก
– ที่เมนูรูปแบบ จะปรากฎการดำเนินการดังนี้
1. เมนูสำหรับการปรับแต่งรูปแบบบล็อก
2. สามารถกดปุ่มแก้ไขเพื่อปรับแต่งแก้ไขข้อมูลต่าง ๆ ได้
3. เพิ่ม Gadget คือเมนูสำหรับการเพิ่มลูกเล่นให้เว็บบล็อกที่ระบบมีให้เลือก
4.เมื่อดำเนินการแก้ไขปรับเปลี่ยนทุกครั้งต้องคลิก “บันทึกการจัดเรียง” ทุกครั้งเพิ่มทำการบันทึกงาน
– ตัวอย่างการใช้ปุ่ม “เพิ่ม Gadget”
1. คลิกที่ปุ่ม “เพิ่ม Gadget”
2. จะแสดงรายละเอียด Gadget ที่ระบบมีสำหรับการปรับแต่ง ต้องการ Gadget ไหนให้คลิกปุ่ม “+”
– ตั้งค่าการแสดงผลของ Gadget ดังนี้
1.สามารถแก้ไขชื่อที่ต้องการให้แสดงผล
2. รูปแบบการแสดงผลอย่างไร
3. คลิก “บันทึก”
1. ภาพแสดงตัวอย่างการเพิ่ม Gadget ด้านข้าง
2. กดปุ่ม “บันทึกการจัดเรียง”
1. ถ้าต้องการเพิ่มบทความในบล็อกคลิกปุ่ม “บทความใหม่”
2. อยากดูตัวอย่างเว็บบล็อกของเราคลิก “ดูบล็อก”
-เครื่องมือสำหรับการพิมพ์บทความใหม่
1. 1.หน้าต่างจะต้องอยู่ในสถานนะ “เขียน” ถ้าเป็น “HTML” ใช้ในกรณีการเติมโค๊ดลงไปเท่านั้น
2. ชื่อโพสต์
3. บริเวณในการพิมพ์บทความทั้งหมด
4. กรณีต้องการเชื่อมโยงลิงก์ไปเว็บอื่น
5. กรณีต้องการเพิ่มรูปภาพลงในบทความ
6. กรณีต้องการเพิ่มวิดีโอลงในบทความ
7. กรณีต้องการแบ่งบทความให้แสดงตามต้องการ
8.เมื่อพิมพ์บทความเสร็จแล้วให้คลิก “เผยแพร่” ทุกครั้ง่
-แสดงหน้าต่างว่าคุณต้องการแชร์บทความให้เพื่อนคุณผ่าน Google Plus หรือไม่
ตัวอย่างเว็บบล็อก